top of page

ราชาธิราช(ตอนสมิงพระรามอาสา)

ความเป็นมา

     วรรณคดีเรื่อง ราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา เป็นการทำสงครามระหว่างพม่ากับมอญ เดิม

ต้นฉบับเป็นภาษามอญ แต่เนื่องจากเนื้อเรื่องมีความสนุกน่าสนใจ ให้ข้อคิดมากมายจึงได้มีนักปราชญ์

ชาวไทยแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทย ตั้งแต่ก่อนเสียกรุงเสียอยุธยาครั้งสุดท้าย ภายหลังสมเด็จ

เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 1 ทรงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แปลและ

เรียบเรียงให้เรียบร้อยเสร็จสมบูรณ์อีกครั้ง

  

 ผู้เรียบเรียง

     เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

 

 ประวัติและผลงาน

     เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

เคยรับราชการเป็นหลวงสรวิชิต แล้วไปเป็นนายด่านเมืองอุทัยธานี ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ต่อ

มาในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาพิพัฒน์โกษา และเป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ผลงานที่สำคัญของท่านได้แก่ ราชาธิราช สามก๊ก ร่ายยาวมห่เวสสันดรชาดก (กัณฑ์กุมาร และกัณฑ์มัทรี) บทมโหรีเรื่องกากี ลิลิตเพชรมงกุฎ และอิเหนาคำฉันท์ท่านถึงแก่ อสัญกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2348

 

ลักษณะคำประพันธ์

    เป็นวรรณคดีร้อยแก้วแนวนิทานอิงประวัติศาสตร์


จุดประสงค์ในการแต่ง

     รัชกาลที่ 1 มีพระราชประสงค์ที่จะใช้วรรณคดีเรื่องนี้ให้เกิดประโยชน์ และพระบรมวงศานุวศ์

ข้าทูลละอองธุลีพระบาท จะได้จดจำไว้เป็นคติบำรุงสติปัญญา

การพิจารณาคุณค่า

    1. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ มีการใช้สำนวนโวหารสูง แม้จะใช้ประโยคยาวแต่ใช้ถ้อยคำภาษาและการเข้าประโยคที่สละสลวย

        1.1 การใช้สำนวนเปรียบเทียบที่คมคาย เช่น

" พระเจ้ากรุงจีนยกมาครั้งนี้อุปมาดังฝนตกห่าใหญ่ตกลงน้ำนองท่วมป่าไหลเชี่ยวมาเมื่อวสันตฤดูนั้นหาสิ่งใดจะต้านทานมิได้"

หมายถึง กองทัพของพระเจ้ากรุงจีนเป็นกองทัพที่ยิ่งใหญ่ไม่มีใครสามารถต้านทานได้

        1.2 ใช้คำคมให้คติเตือนใจ เช่น

"เรารักสัตย์ยิ่งกว่าทรัพย์ อย่าว่าแต่สมบัติมนุษย์นี้เลย ถึงท่านจะเอาทิพยสมบัติของสมเด็จอมรินทร์มายกให้เรา เราก็มิได้ปรารถนา"

หมายถึง คนที่รักษาคำพูดถึงแม้จะนำทรัพย์อันมีค่ามาให้ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำพูดที่เคยให้ไว้ได้"

  2. คุณค่าด้านสังคม ค่านิยม และความเชื่อ

        2.1 ความเชื่อถือในเรื่องฤกษ์ เช่น ตอนพระเจ้ากุงต้าฉิงยกทัมายังกรุงรัตนบุระอังวะก็ต้องรอให้ฤกษ์ดีก่อนจะยกทัพมาใด้

        2.2 ขนบธรรมเนียมในการส่งเครื่องราชบรรณาการไปเพื่อตอบแทน เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งปรัพฤติ

ปฏิบัติตามที่ฝ่ายตนร้องขอ หรือส่งเครื่องราชบรรณาการไปเพื่อขอให้อีกฝ่ายหนึ่งทำตามที่ตนเองขอเช่น การส่งพระราชสาส์นจากพระเจ้ากรุงต้าฉิง เพื่อจะให้พระเจ้าอังวะอยู่ในอำนาจออกมาถวายบังคมและต้องการจะดูทหารรำทวนขี่ม้าสู้กัน

        2.3 การรักษาสัจจะของบุคคลที่อยู่ในฐานะกษัตริย์ เช่น การรักษาคำพูดของพระเจ้ากรุงต้าฉิงเมื่อกามะนีแพ้ก็ยกทัพกลับไปโดยไม่ทำอันตรายแก่ผู้ใดเลย ตามที่ได้พูดไว้

        2.4 ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เช่น สมิงพระรามแม้จะอาสารบให้กับพระเจ้าอังวะ แต่โดยใจจริงแล้วก็ทำเพื่อบ้านเมืองของตน และยังคงจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ของตน

        2.5 การปูนบำเหน็จรางวัลให้แก่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ เป็นการสร้างกำลังใจและผูกใจคนไว้ได้ ดังตอนที่พระเจ้าอังวะให้เหตุผลต่อสมิงพระราม เมื่อสมิงพระรามไม่รับบำเหน็จจากการอาสารบ"อนึ่งเราเกรงคนทั้งปวงจะครหานินทาได้ ท่านรับอาสากู้พระนครไว้มีความชอบเป็นอันมากมิได้รับบำเหน็จรางวัลสิ่งใด นานไปเบื้องหน้าถ้าบ้านเมืองเกิดการจราจล หรือข้าศึกมาย่ำยีเหลือกำลังก็จะไม่มีผู้ใดรับอาสาอีกแล้ว"ด้วยเหตุผลของพระเจ้าอังวะข้างต้น สมิงพระรามจึงต้องรับรางวัลในครั้งนี้

 

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

    1. คนดีมีความสามารถแม้อยู่ในเมืองศัตรูก็ยังมีคนเชิดชูได้เสมอ

    2. ผู้เป็นกษัตริย์ย่อถือความสัตย์เป็นสิ่งประเสริฐที่สุด

    3. ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย เช่น กามะนี

    4. ผู้ทีทำกิจโดยอาศัยปฏิภาณไหวพริบและความสามารถเฉพาะตนจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้

    5. บ้านเมืองที่ประกอบไปด้วยกษัตริย์ ที่อยู่ในความสัตย์ เสนาอำมาตย์มีความสามัคคี เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา และทหารที่มีความสามารถในการรบจัดเป็นบ้านเมืองที่แข็งแกร่ง เป็นที่เกรงขามของประเทศทั่วไป และจะสามารถดำรงเอกราชไว้ตราบนานเท่านาน

bottom of page